วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมไทย


การแต่งกาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแต่งกายของชาวไทยจะเป็นสากลมากขึ้น แต่ก็ยังคงเครื่องแต่งกาย ของไทยไว้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น ในงานพระราชพิธี งานที่เป็นพิธีการ หรือในโอกาสพบปะ สังสรรค์ระหว่างผู้นำ พิธีแต่งงาน เทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้น หรือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ในบางหน่วยงานของราชการ มีการรณรงค์ให้แต่งกายในรูป แบบไทย ๆ ด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

การแต่งกายของไทย

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ 
  การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ  
          นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" 
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ










บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประ
เทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน
   เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง










"เรือนไทย" 
มรดกแห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย งานศิลป์ที่สั่งสมองค์ความรู้ในการแก้ปัญหา และเคารพสภาพแวดล้อมได้อย่างมีเหตุผล รายละเอียดและองค์ประกอบของเรือนไทยทุกส่วน จึงล้วนมีที่มาที่ไปเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และขีดจำกัดของโครงสร้างบ้านในยุคนั้น หากเรามองลึกเข้าไปในรายละเอียด ดีไซน์เหล่านี้ยังสามารถนำมาปรับใช้กับบ้านสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เราลองมาศึกษารายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในเรือนไทย ว่ามีอะไรบ้างที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับบ้านในยุคนี้ได้
ใต้ถุนสูง 
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเรือนไทย ในอดีตคนไทยมักจะปลูกเรือนติดริมน้ำ เพื่อความสะดวกในการสัญจรทางน้ำและการประกอบอาชีพกสิกรรม ตัวเรือนจึงถูกออกแบบให้ยกสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้านในฤดูน้ำหลาก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้พื้นที่ใต้ถุนเป็นที่พักผ่อน ทำงาน เลี้ยงสัตว์ เก็บของใช้ ป้องกันโจรและสัตว์ร้ายขึ้นเรือน เนื่องจากบันไดของเรือนไทยสามารถยกเก็บเข้าบ้านได้ 
ในแง่ของการออกแบบแล้ว ใต้ถุนที่โล่งจะช่วยให้ลมพัดผ่านสะดวกมากขึ้น และตัวเรือนด้านบนยังเป็นเกราะป้องกันความร้อนให้พื้นที่ใต้ถุนได้เป็นอย่างดี เมื่อประโยชน์ของใต้ถุนมีมากขนาดนี้ ใครที่กำลังคิดปลูกบ้านถึงแม้จะไม่ใช่ทรงไทยก็ตาม อย่าลืมทำใต้ถุนให้บ้านด้วยนะครับ นอกจากนี้การปลูกต้นไม้และพืชคลุมดิน ยังทำให้สภาพแวดล้อมรอบๆบริเวณใต้ถุนและบ้านดูร่มรื่นเย็นสบายด้วย
"การเข้าสลัก-เดือย
จุดเด่นอีกอย่างของเรือนไทยก็คือ เป็นเรือนประกอบที่สามารถถอดแยกส่วนได้ง่าย หรือจะเรียกว่าบ้านสำเร็จรูปก็ไม่น่าจะผิดนัก เพราะวิธีการปลูกเรือนไทย ช่างจะปรุงเรือนแยกชิ้นส่วนโครงหลังคา พื้น ฝาผนัง ประตู-หน้าต่าง บันได บนพื้นดิน จากนั้นจึงนำมาเข้าลิ้นสลัก-เดือยบนตำแหน่งที่จะปลูกเรือน ซึ่งเทคนิคเข้าสลัก-เดือยนี้ เป็นเสน่ห์งานหัตถกรรมและสะท้อนถึงภูมิปัญญาของช่างปรุงเรือนไทยได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์น็อกดาวน์ (KNOCK DOWN) กำลังเป็นที่นิยม เพราะความสะดวกในการติดตั้ง อีกทั้งงานตกแต่งภายในก็ต้องการความยืดหยุ่นของการจัดพื้นที่ห้องให้หลากหลายขึ้น หากใครจะลองนำลักษณะการเข้าสลักเดือยนี้ไปใช้ดีไซน์ร่วมกับงานออกแบบก็ไม่เลวนะครับ เช่น บันไดขึ้นเรือนอาจนำมาดัดแปลงเป็นชั้นหนังสือแบบถอดประกอบได้ 
ซุ้มทางเข้าและหอนก 
ซุ้มทางเข้า เป็นองค์ประกอบเล็กๆที่ทำให้เรือนไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่น และยังช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้บ้านดูอบอุ่น ในเชิงดีไซน์ยังช่วยแบ่งขอบเขตระหว่างภายนอกและภายในบ้าน ให้ผู้มาเยือนรู้สึกว่าได้เข้ามาในพื้นที่ของบ้านแล้ว 
"หอนก" คือ ศาลาเล็กๆที่ใช้สำหรับปลูกไม้ดอก หรือแขวนกรงนกต่างๆ เช่น นกเขา นกขุนทอง ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนในสมัยก่อน และใช้เป็นที่นั่งเล่นรับลมของสมาชิกในบ้าน อีกทั้งเมื่อเรามองจากนอกบ้าน หอนกยังช่วยลดทอนขนาดของบ้านให้ดูมีมิติมากขึ้น 
บ้านใครที่ยังพอมีพื้นที่บริเวณบ้านเหลือพอ และอยากมีส่วนนั่งเล่นใต้ชายคานอกบ้านเพิ่ม อาจปลูกศาลาเล็กๆที่เข้ากับสไตล์บ้านสักหลัง หรือใครที่รู้สึกว่าบ้านเรามีขนาดใหญ่เทอะทะ ลองเอาประโยชน์การลดทอนขนาดของหอนกมาใช้ทำให้บ้านดูมีมิติมากขึ้นได้นะครับ 
ชานเรือน 
เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนหมู่ มีชานเป็นตัวเชื่อมระหว่างเรือนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถต่อเติมเรือนหลังใหม่ได้สะดวก เมื่อลูกสาวออกเรือนมีครอบครัวใหม่ (คนไทยสมัยก่อนเมื่อแต่งงานแล้ว ฝ่ายชายจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง) เพราะไม่ต้องยุ่งกับโครงสร้างเดิมของเรือนเก่า พื้นชานเรือนไทยจะตีเว้นร่อง เพื่อให้ลมจากใต้ถุนพัดขึ้นมาได้ และช่วยให้ไม้สามารถยืดหดตัวได้โดยไม่โก่งงอ อีกทั้งยังเป็นช่องระบายน้ำเวลาฝนตก อาบน้ำ และป้องกันไม่ให้น้ำขังบนชานจนเป็นสาเหตุให้ไม้ผุได้ หน้าที่สำคัญอีกอย่างของชานคือ เป็นลานกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งช่วยไม่ให้เราอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน 
ใครอยากเพิ่มพื้นที่สัมผัสธรรมชาตินอกบ้าน อาจนำชานหรือระเบียงแบบเรือนไทยมาใช้ดูนะครับ หรือบ้านไหนที่ปูระเบียงไม้นอกบ้าน เทคนิคการปูพื้นไม้เว้นร่องของเรือนไทยก็เป็นไอเดียที่ดีทีเดียว 
รั้วโปร่ง 
รั้วของชานบ้านเรือนไทยเป็นส่วนช่วยกั้นขอบเขตและสร้างความเป็นส่วนตัวให้บ้าน ลักษณะคล้ายผนังบ้านยื่นต่อออกมาจากตัวเรือน บางส่วนเจาะเป็นช่องลูกกรงเพื่อระบายอากาศ อีกทั้งยังเป็นช่องที่คนในบ้านสามารถมองออกไปเห็นคนข้างนอกได้ด้วย
เราอาจนำเอาลักษณะรั้วของชานบ้านเรือนไทยมาประยุกต์กับระเบียงบ้านชั้น 2ของบ้านสมัยใหม่ เพราะพื้นที่ระเบียงมักเป็นส่วนที่เราไม่ค่อยได้ออกไปใช้บ่อยนัก (อาจเป็นเพราะไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะบ้านที่ปลูกติดกัน) เพื่อให้ระเบียงบ้านของเราสามารถใช้งานได้และเป็นสัดส่วนมากขึ้น แต่ยังเป็นที่นั่งเล่นรับลมได้เหมือนเดิม
ช่องแมวลอด ร่องตีนแมว 
เป็นช่องว่างระหว่างชานกับพื้นเรือน สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวเรือน เป็นช่องที่ช่วยรีดลมจากใต้ถุนขึ้นมาบนพื้นชาน เพื่อให้บริเวณชานบ้านเย็นสบาย ด้วยระดับความสูงพอเหมาะจะนั่งหย่อนขาได้สบาย ช่องแมวลอดจึงเป็นที่นั่งเล่นหรือทำงานของคนสมัยก่อนด้วย อีกทั้งบ้านที่ยกฐานสูงจากระดับพื้นยังดูเด่นและมีมิติมากกว่าบ้านไม่ยกระดับ 
ในการออกแบบบ้านสมัยนี้ก็เช่นกัน ถ้าคิดจะเล่นระดับพื้นบ้านไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกบ้าน ให้มีมิติและสามารถใช้เป็นที่นั่งเล่นได้ด้วย ก็ลองหยิบยืมระดับความสูงของช่องแมวลอดมาใช้ได้ครับ
เฉลียง หรือระเบียงหน้าห้อง
เป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายนอกและภายในห้อง เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยในร่มมากขึ้น หลังคาคลุมเฉลียงจะยื่นยาวออกมาจากกันสาด ปลายอีกด้านจะวางอยู่บนเสาเฉลียง พื้นที่ส่วนนี้นอกจากจะเป็นส่วนอเนกประสงค์แล้ว ยังช่วยกรองแสงและปรับสภาพ ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายเร็วเกินไปในขณะที่เราเดินเข้า-ออกบ้าน จนเป็นสาเหตุให้ไม่สบายได้ 
การออกแบบประตูทางเข้า-ออกบ้านให้มีหลังคายื่นคลุม (CANOPY) เช่นเดียวกับเฉลียงของเรือนไทย จึงช่วยป้องกันทั้งอากาศร้อนไม่ให้ไหลผ่านเข้าบ้านได้โดยตรง และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นภายนอกได้ด้วยครับ
หน้าต่าง 
รูปร่างหน้าตาขึ้นอยู่กับหน้าที่ใช้สอย หรือ "FORM FOLLOWS FUNCTION"เป็นปรัชญาการออกแบบที่บรรพบุรุษไทยนำมาใช้ออกแบบเรือนไทย สังเกตได้จากระดับความสูงของหน้าต่างของเรือนไทยที่สูงจากพื้นเพียง 30-40เซนติเมตรเท่านั้น เพราะปรกติคนสมัยก่อนจะนั่งและนอนกับพื้น ความสูงหน้าต่างจึงต้องออกแบบให้อยู่ในระดับที่ลมพัดผ่านกระทบร่างกายได้ อีกทั้งคนบนเรือนยังสามารถชะโงกมองออกมาหน้าต่างได้โดยไม่ต้องลุกยืนด้วย 
การออกแบบบ้านในสมัยนี้เช่นกัน ควรจะคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยระหว่างภายนอกและภายในด้วย รูปแบบบ้านควรสอดคล้องกับการจัดเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เช่น ถ้าเราจะตกแต่งห้องนอนสไตล์ทรอปิคัล อาจจะไม่ใช้เตียงนอนแต่ยกระดับพื้นเล็กน้อยแล้ววางฟูก ความสูงของหน้าต่างห้องนี้ก็อาจจะมีระดับความสูงต่ำกว่าห้องอื่นๆด้วย 
ผนังหายใจได้ 
หลายคนอาจเคยได้ยินว่า เรือนไทยเป็นบ้านมีชีวิต ทั้งเป็นเพราะเรือนไทยมีการออกแบบผนังบ้านให้สามารถระบายอากาศได้ ผนังที่ว่านี้ก็คือ "ฝาสำหรวด" ฝาเรือนที่ทำจากไม้ไผ่หรือไม้กระบอกสานกันบนโครงไม้ค่อนข้างถี่ เป็นฝาเรือนที่เหมาะจะใช้เป็นผนังครัว เพราะสามารถระบายอากาศได้เร็ว 
ฝาผนังอีกฝาที่สามารถระบายอากาศได้ คือ "ฝาไหล" ฝาไม้ ชั้นตีเว้นร่อง สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ ลักษณะคล้ายประตูหน้าบานเลื่อนในปัจจุบัน นิยมใช้กับผนังส่วนที่ต้องการระบายอากาศหรือในห้องที่ต้องการมองออกไปนอกบ้านได้ในบางครั้ง 
ผนังหายใจได้เหล่านี้น่าจะนำไปใช้ได้หลายอย่างครับ เช่น ให้เป็นบานประตูตู้เสื้อผ้าหรือตู้อาหาร เพื่อให้ระบายอากาศลดกลิ่นอับในตู้ หรือจะนำไปเป็นผนังหรือประตูโรงรถระบายความร้อนก็ได้
หลังคาเรือนไทย
ด้วยภูมิปัญญาที่เข้าใจธรรมชาติ หลังคาเรือนไทยจึงมีความลาดชันมาก เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้เร็ว แต่น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดชั้นที่มากนั้น ย่อมทำให้น้ำฝนมีโอกาสถูกลมพัดเข้าไปในบ้านได้ง่าย ช่างไทยจึงออกแบบกันสาดให้มีความลาดชันน้อยกว่าหลังคารองรับน้ำฝนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้น้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคากระเด็นออกไปให้ห่างจากตัวบ้านมากที่สุดนั่นเอง และในด้านความสวยงามแล้ว ยังช่วยลดทอนขนาดไม่ใช้หลังคาบ้านใหญ่เทอะทะเกินไป
องค์ประกอบต่างๆที่ใช้ประยุกต์ให้เข้ากับบ้านสมัยใหม่ 
ส่วนต่างๆในเรือนไทย ล้วนมีดีไซน์ที่สวยงามและมีเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นไทย เราสามารถนำลักษณะส่วนนี้มาประยุกต์ใช้ตกแต่งบ้านเพื่อให้ได้กลิ่นอายแบบไทย หรือจะตกแต่งกับบ้านสไตล์โมเดิร์น เพื่อให้เกิดความแตกต่าง (Contrast) ที่ชัดเจนก็ได้ เช่น การใช้ฝาปะกนมาทำเป็นผนังเหนือหัวเตียงในห้องนอน การประยุกต์เอาร่องตีนช้าง (ส่วนล่างของฝาบ้าน)มาทำเป็นโต๊ะวาง














































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น